วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562
 เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ   1.ทฤษฎีพัฒนาการ
                                                 - พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)
                                            2.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
                                                 - ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
                                                 - ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
                                                 - ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
                                                 - ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
                                                 - ทฤษฎีโอตา (Auta)


➽ ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
 ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา
                    - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ารแก้ปัญหา และการมีเหตุผล
กิลฟอร์ดได้อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3  มิติ 
💙 มิติที่ 1 เนื้อหา  ⇉  ภาษา ภาพ  สัญักษณ์ พฤติกรรม
💙 มิติที่ 2 วิธีคิด   ⇉ มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน   5  ลักษณะ  
          - การรู้จัก การเข้าใจ
          - การจำ
          - การคิดแบบอเนกนัย  (คิดได้หลายรูปแบบ  หลากหลาย)
          - การคิดแบบเอกนัย  (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
          - การประเมินค่า
💙 มิติที่ 3 ผลของการคิด  ⇉ มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง  จากมิติที่ + มิติที่ 2
มี  6  ลักษณะ ➤ หน่วย   จำพวก   ความสัมพันธ์  ระบบ  การแปลงรูป  การประยุกต์
 สรุป
ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ความสามารถ 
และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
เน้น การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์     แนวคิด - ความคล่องแคล่วในการคิด
                                                                     - ความยืดหยุ่นในการคิด
                                                                     - ความริเริ่มในการคิด
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
       1.ขั้นการค้นพบความจริง
       2.ขั้นการค้นพบปัญหา
       3.ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
       4.ขั้นการค้นพบคำตอบ
       5.ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
สรุป
  ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้า
สิ่งแปลกๆใหม่ๆ ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์  
จึงเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
การทำงานของสมองสองซีก  ทำงานแตกต่างกัน
 สมองซีกซ้าย  ➨    ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล       
 สมองซีกขวา   ➨   ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
 **แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวะพันธุ์ กล่าวว่า สมองคนเรามี 2 ซีก
ซีกขวาเป็นส่วนของจินตนาการความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้มากช่วงอายุ 4-7 ปี ส่วนซีกซ้าย
เป็นส่วนการคิดเหตุผลจะพัฒนาในช่วงอายุ 9-12 ปี และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่ช่วงอายุ 14-13ปี

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
ความหลากหลายของสติปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน  ได้แก่
                      1. ความฉลาดทางด้านภาษา 
              2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ 
              3. ความฉลาดทางด้านดนตรี 
              4. ความฉลาดทางด้านมิติ 
              5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย
              6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ
              7. ความฉลาดภายในตน
              8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ 
              9. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ 
สรุป
💛 ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
💛 ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง

➽ ทฤษฎีโอตา (Auta)
เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan)
   การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 
  1.การตระหนัก 
  2.ความเข้าใจ 
  3.เทคนิควิธี 
  4.การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ
เคลล็อก (Kellogg)  จำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้
เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน 
มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ 
  ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย ➤ เด็กวัย 2 ขวบ ขีดโดยปราศจากการควบคุม
  ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ➤ เด็กวัย 3 ขวบ ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น วาดวงกลมได้
  ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ ➤ เด็กวัย 4 ขวบ ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดสี่เหลี่ยมได้
  ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ ➤ เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป  เขียนภาพแสดงถึงภาพคนสัตว์ได้ ควบคุมการขีดเขียนได้ดี

พัฒนาการด้านร่างกาย
 ➨ กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรทางการ
ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
1.การตัด       อายุ 3-4 ปี  ตัดเป็นชิ้นส่วนได้
                    4-5 ปี  ตัดเป็นเส้นตรงได้
                    5-6 ปี  ตัดตามเส้นโค้ง, รูปทรงต่างๆ

2.การขีดเขียน อายุ 3-4  วาดวงกลมได้
                      4-5  วาดสี่เหลี่ยมได้
                      5-6  วาดสามเหลี่ยมได้

3.การพับ อายุ 3-4 พับเเละรีดสันกระดาษ 2 ทบตามแบบ
              4-5 พับและรีดสันกระดาษ 3 ทบตามเเบบ
              5-6 พับเเละรีดสันกระดาษได้คล่อง หลายแบบ

4.การวาด  อายุ 3-4 วาดคน มีหัว ตา ปาก ขา
                         4-5 วาดคนมี หัว ตา ปาก ขา จมูกลำตัว เท้า
                5-6 วาดรายละเอียดเยอะขึ้น

➽ อาจารย์ให้นักศึกษาทำใบงานที่ 7 การออกแบบลวดลายตามจินตนาการ


รวบรวมผลงานศิลปะ
  ➤ อาจารย์ให้นักศึกษานำผลงานที่ได้ลงมือทำสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 6 แผ่น ออกมาแสดงและชื่นชม
ร่วมกันหน้าชั้นเรียน









Assessment (การประเมิน)
ตนเอง  : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และให้ความร่วมมือในกิจกรรมทุกอย่าง
เพื่อน   : เพื่อนๆ เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์และจดบันทึก
อาจารย์  : อาจารย์อธิบายเนื้อหาครบถ้วนและเข้าใจง่าย การสอนจะมีตัวอย่างหรือภาพประกอบเพื่อ            ความเข้าใจมากขึ้น 



วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562
 เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)
 ⏩ ศิลปะ คืองานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างขึ้นด้วยความประณีต จิตรบรรจง ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
            👉 ศิลปะ 3 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรม  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม


ศิลปะ     - ความงาม (ทางกาย , ทางใจ )
                                                             - รูปทรง
                                                             - การแสดงออก

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย 
          - เด็กชอบวาดรูป  ขีดๆเขียนๆ
          - เด็กมีความคิด  จินตนาการ
          - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้
          - เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
💛  เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา)
💛  ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น 
       - กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย
💛 ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
💛 ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

➤  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยที่อาจารย์แจกใบงานทั้งหมด 6 แผ่น ให้พวกเราออกแบบผลงานศิลปะของตนเองโดยใช้ตามความคิดและจินตนาการ  ทำภายในเวลาที่กำหนด


วาดภาพของตนเองตามจินตนาการ


วาดภาพต่อจากเส้นโค้งที่กำหนดให้ เป็นภาพตามจินตนาการ


วาดภาพหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์

ออกแบบลวดลาย


ออกแบบลวดลายและระบายสีให้สวยงาม


ต่อจุดเป็นภาพ พร้อมระบายสีให้สวยงาม


บรรยากาศการเรียน


Assessment (การประเมิน)

ตนเอง  : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำผลงานของตนเองและให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม
เพื่อน   : เพื่อนๆ ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำงาน และตั้งใจฟังอาจารย์
อาจารย์  : อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆ อย่างครบถ้วนและเข้าใจง่าย การทำกิจกรรมมีความยืดหยุ่น                      ตามความเหมาะสม

    
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (story of subject)
➤ วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อันดับแรกอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดแนวการสอน และแจ้งกฎกติกาข้อตกลงในการเข้าเรียนร่วมกัน


    ➤ จากนั้นอาจารย์ได้ให้พวกเราทำกิจกรรม มีใบงาน 4 แผ่น ให้เราวาดภาพต่อเติมจากรูปที่กำหนดมาให้ตามจินตนาการ โดยในใบงานจะมีการกำหนดรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม เมื่อทุกคนทำเสร็จก็ได้ทำการแลกเปลี่ยนกันเพื่อตรวจคะแนนตามเกณฑ์คะแนนที่กำหนด



     

องค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงาน
                                                            1.คิดสร้างสรรค์
                                                            2.คิดยืดหยุ่น
                                                            3.คิดริเริ่ม
                                                            4.คิดคล่องแคล่ว
     
       ➤ ท้ายคาบอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน เพื่อตอบคำถามก่อนเรียนแล้วให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางศิลปะและความคาดหวังของนักศึกษาจากการเรียนวิชานี้


Assessment (การประเมิน)
ตนเอง  : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำผลงานของตนเองด้วยตั้งใจ
เพื่อน   : เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่างดีมาก
อาจารย์  : อาจารย์อธิบายแนวการสอน และเนื้อหาต่างๆอย่างครบถ้วนและเข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เสนอความคิด