วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
 เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
 👉  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาลงมือทำกิจกรรมศิลปะเกี่ยวกับสีน้ำทั้งหมด 17 อย่าง อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมวัสดุและอุปกรณ์บางอย่าง เช่น เกลือ แปรงสีฟันเก่า ผัก ผลไม้เพื่อนำมาพิมพ์ภาพ โดยที่อุปกรณ์บางอย่างอาจารย์ได้เป็นผู้จัดเตรียมมาแล้ว และอาจารย์เป็นผู้ดูแล อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาในการทำกิจกรรม

💚กิจกรรมที่ 1 วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ💚
ใช่พู่กันจุ่มสีน้ำมาวาดเป็นภาพให้สวยงามตามจินตนาการ

💚กิจกรรมที่ 2 การหยดสี💚
ใช้พู่กันหรือสิ่งต่างๆจุ่มสีน้ำแล้วหยดลงบนกระดาษให้สวยงามตามจินตนาการ

แบบที่่ 2 หยดสีในกระดาษเปียก
ใช้พู่กันหรือสิ่งต่างๆจุ่มสีน้ำแล้วหยดลงบนกระดาษที่ชุบน้ำหมาดๆ ให้สวยงามตามจินตนาการ

💚กิจกรรมที่ 3 การเทสี💚
หยดสีน้ำลงบนกระดาษแล้วเอียงกระดาษไปมาเพื่อให้สีไหลเป็นเส้นๆ ตัดกันไปมา

💚กิจกรรมที่ 4 การเป่าสี💚
หยดสีลงบนกระดาษใช้หลอดกาแฟเป่าหยดสีให้กระจายไปในทิศทางต่างๆ กัน

💚กิจกรรมที่ 5 การเป่าฟองสบู่💚
ผสมสีกับแชมพูในถ้วยหรือถาด ใช้หลอดกาแฟเป่าให้เกิดฟอง เอากระดาษวางทับที่ฟอง
แล้วยกระดาษขึ้น

💚กิจกรรมที่ 6 การกลิ้งสี💚
หาภาชนะรองรับกระดาษลูกแก้ว หยดสีบนกระดาษแล้วเอียงภาชนะให้ลูกแก้งกลิ้งไปมาทับสีที่หยดบนกระดาษจนเกิดเป็นลวดลาย

💚กิจกรรมที่ 7 การทับสี💚
ผสมสีให้เหลวข้น หยดสีลงบนกระดาษที่พับครึ่งเพียงด้านเดียวพับกระดาษลงทับสี แล้วใช้มือรีดลูบให้สีใต้กระดาษผสมผสานกัน กางกระดาษออกจะได้ภาพที่เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง

💚กิจกรรมที่ 8 การพ้นสี💚
ผสมสีกับน้ำใส่ขวดสเปรย์ ตัดกระดาษเป็นรูปหรือหาวัสดุวางบนกระดาษ ถือขวดพ่นห่างจากกระดาษเล็กน้อย พ่นลงบนกระดาษ รอให้แห้งเอาสิ่งของออก
แบบที่ 2 พ้นสีแบบมีวัสดุวางทับ

💚กิจกรรมที่ 9 การย้อมสี💚
นำกระดาษทิชชูแผ่นใหญ่พับสี่ หรือพับกลับไปมา ใช้พู่กันจุ่มสีหยดลงบนกระดาษ หรือจุ่มลงในสีให้สีซึมเข้าไปในกระดาษค่อยๆ คลี่ออกนำไปตาก จะได้กระดาษสีสวยงาม

💚กิจกรรมที่ 10 ดึงเส้นด้ายชุบสี💚
นำเส้นเชือกชุบสีน้ำแล้วนำไปวาดหรือดึงลากบนกระดาษให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ

💚กิจกรรมที่ 11 การสลัดสี💚
นำแปรงสีฟันที่ใช้แล้วจุ่มลงในสีน้ำใช้ปลายนิ้วดีดสลัดสีลงบนกระดาษเพื่อให้เกิดเป็นภาพ

💚กิจกรรมที่ 12 การพิมพ์ภาพ💚
นำมือหรือเท้าจุ่มลงในสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ หรือนำเอาสีมาทาที่มือ/เท้า หรือวัสดุอื่นๆ พิมพ์มือ เท้าลงบนกระดาษเพื่อให้เกิดเป็นภาพแล้ววาดตกแต่งตามจินตนาการ
แบบที่ 2 พิมพ์ภาพด้วยมือ

💚กิจกรรมที่ 13 สร้างภาพด้วยเกลือ💚
นำกาวมาวาดหรอหยดลงบนกระดาษให้เป็นภาพตามจินตนาการ แล้วนำเกลือป่นมาโรยลงบนกาวให้ทั่ว แล้วนำสีมาหยดหรือทาลงที่เกลือตามจินตนาการ

💚กิจกรรมที่ 14 จุดสีสร้างภาพ💚
ผสมสีค้นๆ นำสำลีพันไม้หรือใช้คอตตอนบัดปั่นหู จุ่มที่สีควรแยกสีละอันแล้วนำมาจุดลงบนกระดาษให้เป็นรูปภาพต่างๆ ตามจินตนาการ

👉ทักษะที่ได้รับ
1.การทำงานร่วมกัน ความแบ่งปันมีน้ำใจในการทำงาน
2.ความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานของตนเอง
3.ความคล่องแคล่ว ว่องไวในการคิดและการทำงาน
4.ความรับผิดชอบและความสามัคคีในการทำงานและเก็บรักษา ทำความสะอาด
5.ได้รู้วิธีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับสีน้ำที่หลากหลาย และนำการจัดกิจกรรมศิลปะไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
💛ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรม💛



Assessment (การประเมิน)

ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงาน มีความรับผิดชอบ

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน มีน้ำใจและแบ่งปันวัสดุสิ่งของในการทำงาน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และจัดเตรียมการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายและครบถ้วน ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์อธิบายได้ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
 เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
   👉  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมศิลปะเกี่ยวกับสีเทียนทั้งหมด 11 อย่าง ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม โดยอาจารย์เป็นผู้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเป็นผู้ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา

💙กิจกรรมที่ 1 การวาดภาพลายเส้น💙
ขั้นที่ 1 ร่างภาพเป็นรูปร่าง  
        ขั้นที่่ 2 ร่างเส้นรูปนอกให้ถูกต้อง


💙กิจกรรมที่ 2 ตัวเลขแปลงกาย💙 
นำตัวเลขมาวาดต่อเติมแล้วระบายสีตามจินตนาการ แล้วตัดออกมาต่อเป็นเรื่องราว


💙กิจกรรมที่ 3 วาดภาพอิสระด้วยสีแทียน💙 
นำสีเทียนสีดำมาวาดเป็นภาพลายเส้นแล้วระบายสีให้สวยงามตามจินตนาการ


💙กิจกรรมที่ 4 สีเทียนร่วมใจ💙 
นำสีเทียน 2-3 แท่งมัดรวมกัน ใช้วาด ลากเส้น หมุน วนไปมาบนกระดาษจนเกิดเป็นภาพ


💙กิจกรรมที่ 5 ถูสีเป็นภาพ 💙 
นำสีเทียนถูวัตถุที่มีพื้นผิวต่างๆ ให้เกิดเป็นภาพเช่น ต้นไม้ ใบไม้ เหรียญ กุญแจ

แบบที่ 2 ใช้กระดาษทราย























💙กิจกรรมที่ 6 ขูดสีทียนเป็นภาพ💙 
นำสีเทียนหลายๆสีระบายลงในกระดาษแล้วระบายทับด้วยสีดำแล้วนำวัตถุปลายแหลมแต่ไม่คม มาขูดสีดำออกเป็นภาพตามต้องการ


💙กิจกรรมที่ 7 สีเทียนกับผ้า 💙 
วาดภาพด้วยสีเทียนลงบนผ้า นำกระดาษหลายๆแผ่นวางบนผ้า ใช้เตารีด รีดบนกระดาษ สีเทียนจะติดแน่นลงบนเนื้อผ้า


💙กิจกรรมที่ 8  สีเทียนกับสีน้ำ💙 
วาดภาพด้วยสีเทียนลงบนกระดาษ (สีขาว) เป็นภาพแล้วระบายด้วยสีน้ำ สีจะไม่ซึมลงบนสีเทียนแต่จะซึมลงบนกระดาษทำให้เห็นเป็นภาพสีเทียนเด่นชัดขึ้นมาก
แบบที่ 1 ใช้สีขาววาดภาพ

แบบที่ 2 ใช้สีเทียนหลากสีวาดภาพ

💙กิจกรรมที่ 9 บาติกสีเทียน💙 
วาดภาพด้วยสีเทียนลงกระดาษ ขยำกระดาษเป็นก้อนกลมแล้วคลี่ออก ใช้พู่กันจุ่มสีน้ำทาลงบนกระดาษ สีจะซึมลงบนร่องรอยที่ขยำเหมือนผ้าบาติก

👉ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะทางสังคมการทำงานกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
2.ความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานของตนเอง
3.ความคล่องแคล่ว ว่องไวในการคิดและการทำงาน
4.ความรับผิดชอบและความสามัคคีในการทำงานและเก็บรักษา ทำความสะอาด
😁บรรยากาศการทำกิจกรรม😁



Assessment (การประเมิน)

ประเมินตนเอง : ข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงาน มีความรับผิดชอบ

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และจัดเตรียมการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายและครบถ้วน ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์อธิบายให้คำแนะนำในการทำงาน


วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Art Provision for Early Childhood
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
 เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
    หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
➽ความสำคัญ 
ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น ประสบการณ์สำรวจตรวจสอบ ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์  ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส 
   ** ประสบกราณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความเป็นจริงและเห็นความแตกต่างๆที่หลากหลาย **


➽จุดมุ่งหมายของการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
การสอนศิลปะเด็กไม่ใช่การสอนเด็กให้วาดรูปเก่ง (ศิลปะคือเครื่องมือส่งเสริมจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก)
บทบาทของครูศิลปะ
ครู คือ บุคคลที่สำคัญที่สุดในการเรียนการสอนศิลปะ
                                               - เป็นผู้สร้างบรรยากาศ
                                               - เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน
                                               - เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์
                                               - เป็นต้นแบบที่ดี
                                               - เป็นผู้อำนวยความสะดวก
ข้อคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
1. หลีกเลี่ยงการให้แบบ
2. ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
3. ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้น
4. ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน
5. ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก

                 ➽ลำดับขั้นตอนในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
                         ขั้นตอนการสอนศิลปะ
                              1.เลือกเรื่อง
                              2.กำหนดจุงมุ่งหมาย
                              3.เตรียมการก่อนสอน
                              4.ทดลองและตรวจวัสดุอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
                              5.ทำการสอนจริงตามแผน
                              6.เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน
                              7.การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล
                              8.เก็บรักษาทำความสะอาด
                              9.ประเมินผลงานเด็ก

เทคนิควิธีการสอนศิลปะเด็็กปฐมวัย
- เข้งถึง ➞ มีความใกล้ชิดเด็กอย่างเท่าเทียมกัน
- เข้าใจ  ➞ มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็ก
- ให้ความรักเมตตาเด็ก
- สร้างบรรยากาศ ➞ ที่หลากหลาย สนุก อิสระ
- มีระเบียบวินัย ➞ มีข้อตกลง ปลูกฝังระเบียบวินัยในการทำงาน
- ปลอดภัย ➞ คิดถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว 
**หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก **
กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว  
สี  เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
ปากกาปลายสักหลาด  บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก
ดินสอ (pencil)   ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป 
ดินสอสี (color pencil) หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ
สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ


สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียก
  สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ 
   สีน้ำ (water color)  เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้  ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป 
 สีพลาสติก (plastic or acrylic)   มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น ใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้
สีจากธรรมชาติ
➤ สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน

➽วัสดุในการทำศิลปะ
กาว   กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก 
ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติ
ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก
➽อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
 อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
- สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก
- สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา




วรรณะสีร้อน
สีเหลือง      สีส้ม       สีแดง     สีส้มแดง     สีม่วงแดง    สีม่วง
วรรณะสีเย็น
สีเหลือง     สีเขียว      สีเขียวเหลือง       สีเขียวน้ำเงิน       สีน้ำเงิน      สีม่วง      สีม่วงน้ำเงิน 


Assessment (การประเมิน)

ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกความรู้ มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องของสีประเภทต่างๆ และการเลือกใช้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก รวมทั้งวรรณะของสีร้อนและสีเย็น

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆทุกคนส่วนใหญ่มาเรียนกันตรงเวลา และตั้งใจเรียนมีความรับผิดชอบไม่คุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา การเรียนการสอนสนุกถึงแม้จะมีเนื้อหาเยอะ แต่อาจารย์ก็จะอธิบายยกตัวอย่างประกอบ พร้อมทั้งสอดแทรกมุกตลกต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างสนุกสนาน